บทที่ 23 คำถามที่พบบ่อย (FAQ) ตอน 4
บทที่ 23 คำถามที่พบบ่อย (FAQ) ตอน 4
1. ฉันเป็นนักเขียนมือใหม่ผู้ซึ่งยังไม่มีผู้อ่านติดตามมากมาย เมื่อเร็วๆ นี้ ผู้อ่านบางคนให้ความเห็นมาว่างานของฉันไม่น่าสนใจมากพอ ฉันควรจะหยุดจากแผนงานดั้งเดิม แล้วแก้ไขพล็อตใหม่จะดีไหม?
คำตอบ: นั่นคือสิ่งที่คุณต้องวิเคราะห์ด้วยตนเองเพื่อตัดสินใจว่า เรื่องของคุณน่าสนใจหรือไม่ คุณไม่ควรฟังคนอื่นโดยไม่ลืมหูลืมตา ถ้าคุณจบลงด้วยการเห็นด้วยกับผู้อ่าน ถ้าเช่นนั้นคุณสามารถเปลี่ยนเรื่องราวให้ประสบความสำเร็จได้ไหม? คุณคิดว่าสามารถปรับปรุงให้เรื่องดีขึ้นแน่ๆ หลังจากเปลี่ยนพล็อตเรื่องหรือ? ถ้าคุณเชื่ออย่างนั้น นักเขียนมืออาชีพก็แนะนำให้ทำตามที่คุณต้องการได้เลย
2. ถ้าฉันจะเขียนชีวิตของตัวละครหลักตนเริ่มเรื่องให้เป็นคนไร้ค่า ในเรื่องประเภทแฟนตาซีตะวันออก จะทำให้ผู้อ่านเบื่อในความซ้ำซากไหม?
คำตอบ: มันจะไม่มีปัญหา นั่นเป็นเพราะตัวละครหลักสามารถเป็นได้แค่คนไร้ค่า ธรรมดาสามัญ หรืออัจฉริยะ ไม่สำคัญว่าคุณจะพยายามเปลี่ยนสิ่งต่างๆ มันก็มีแค่เพียงไม่กี่แบบนี้เท่านั้น สิ่งสำคัญมันอยู่ในรายละเอียดของเรื่อง สิ่งที่ผู้อ่านเกิดความเบื่อหน่ายนั้นไม่ใช่เป็นเพราะตัวละครไร้ค่าดั่งขยะ แต่เป็นเพราะตัวละครหลักเป็นคนไร้ค่าแบบเดียวกันกับนิยายเรื่องอื่นที่พวกเขาได้อ่านมา ถ้าหากทุกรายละเอียดของตัวละครเหมือนอย่างกับคนเดียวกัน ผู้อ่านจะเกิดความเบื่อหน่ายเมื่ออ่านแน่นอน
3. ตัวละครนำหญิงในเรื่องของฉันตกอยู่ในสถานะที่ถูกบังคับให้จะต้องแต่งงานกับชายที่เธอไม่ได้รัก แต่ต้องยอมเพื่อช่วยชีวิตตัวละครนำชาย ในตอนสุดท้าย เธอได้รับการช่วยจากตัวละครนำชายหรือเพื่อนของเธอคนใดคนหนึ่ง เพื่อให้หลุดพ้นจากการแต่งงานดังกล่าว องค์ประกอบอย่างนี้ผู้อ่านจะรู้สึกไม่ชอบไหม?
คำตอบ: ผู้อ่านจะไม่ชอบเรื่องแบบนี้แน่นอน นั่นเป็นเพราะไม่ว่าตอนจบของพล็อตเรื่องจะเป็นอย่างไร กลุ่มผู้อ่านยังจำเป็นต้องอ่านคำต่อคำต่อเนื่องไป ผู้อ่านบางคนจะไม่พอใจและเลิกอ่านนิยายที่มีพล็อตกับเนื้อเรื่องแบบนี้ หลังจากอ่านไปได้เพียงครึ่งเรื่องในที่สุด นั่นเป็นเหตุผลว่าทำไมคุณต้องเลี่ยงองค์ประกอบที่ธรรมดาแล้วผู้อ่านไม่ชอบโดยเด็ดขาด
4. ทุกครั้งที่ฉันเขียนนิยายเรื่องใหม่ เมื่อเขียนผ่านไปได้ประมาณหนึ่งแสนคำ ฉันเกิดความรู้สึกหมดความสนใจจะเขียนต่อ ฉันจะเกิดไอเดียใหม่ๆ เสมอ พร้อมกับอยากจะเขียนนิยายเรื่องใหม่ขึ้นมาทันที และมักรู้สึกว่านิยายเรื่องใหม่จะต้องดีกว่าเรื่องปัจจุบันที่กำลังเขียนอยู่ ดังนั้นในหัวฉันเลยเต็มไปด้วยพล็อตเรื่องและสภาพเหตุการณ์ของนิยายเรื่องใหม่ สิ่งนี้ทำให้ฉันไม่อยากเขียนนิยายเรื่องปัจจุบันต่อให้จบ ทำให้ฉันตกอยู่ใน “วงจรอุบาทว์” ของความต้องการเขียนเรื่องใหม่แทนเรื่องที่เขียนค้างอยู่เป็นประจำ ทำอย่างไรฉันจึงออกจากวงจรอุบาทว์นี้ได้?
คำตอบ: นี่หมายความว่าคุณค่อนข้างมีจินตนาการสดใหม่เสมอ ในมุมมองเฉพาะบางมุม ที่จริงนี่เป็นคุณสมบัติที่ดี แน่นอนว่าการที่คุณหมดความสนใจในการเขียนเรื่องที่กำลังเขียนในปัจจุบัน เป็นเรื่องที่ใครก็ช่วยไม่ได้ แต่นักเขียนมืออาชีพกล่าวว่า ยังมีสิ่งที่ช่วยบรรเทาปัญหานี้ได้ ก่อนอื่น คุณต้องคิดวางแผนการเขียนนิยายของคุณให้รอบคอบก่อนที่จะลงมือเขียนจริง คุณต้องเลือกหัวข้อเรื่องที่คุณรักที่จะเขียนมัน และหลังจากที่คุณได้เริ่มเผยแพร่นิยายให้คนได้เริ่มอ่านแล้ว คุณควรจะมีปฏิสัมพันธ์กับกลุ่มผู้อ่านให้มากที่สุดเท่าที่จะมากได้ และใช้การสนับสนุนของผู้อ่านให้เป็นแรงผลักดันในการเขียนต่อไป ในขณะที่กลุ่มผู้อ่านเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง แต่ถ้านั่นยังไม่พอ มีข้อแนะนำว่า เลือกหัวข้อเรื่องที่สภาพเหตุการณ์สามารถเปลี่ยนได้บ่อยๆ อย่างเช่นประเภทแนวเรื่องการเพิ่มระดับพลัง หรือการเดินทางข้ามมิติ แน่นอนว่ามันขึ้นอยู่กับความยืนหยัดและมุ่งมั่นของคุณด้วย
5 ในนวนิยายแนวแข่งขันเพื่อชัยชนะ แนวเรื่องเหมือนอย่างเกม สนามยอดฝีมือแห่งตำนาน (League of Legends) ปกติแล้วตัวละครหลักจะไม่มีวันพ่ายแพ้ แทบจะไม่มีการสูญเสียชัยชนะเลยไม่ว่าจะอย่างไร เพราะเรื่องมันเกี่ยวกับชัยชนะทั้งสิ้น สิ่งนี้สามารถอ่านสนุก แต่มันก็สามารถทำให้ผู้อ่านรู้สึกสมองล้าได้ เนื่องจากความอารมณ์ขึ้นลงของเรื่องไม่สมดุล นั่นเป็นเหตุผลว่าทำไมฉันจึงเขียนให้คู่แข่งมีพลังแข็งแกร่งกว่า จนทำให้ตัวละครหลักของฉันพ่ายแพ้การแข่งขัน วิธีคิดของฉันก็คือ เมื่อตัวละครหลักพบกับคู่แข่งขันคราวหน้าอีกที เขาจะมีพลังเท่าเทียมกับคู่แข่ง หรืออาจแข็งแกร่งกว่า แต่ถึงกระนั้น ฉันได้คุยกับบรรณาธิการของฉันเกี่ยวกับเรื่องนี้ เขาบอกฉันว่า เขียนเรื่องแบบนี้จะทำลายข้อห้ามของเรื่องแนวแข่งขันเพื่อชัยชนะไปง่ายๆ และผู้อ่านจะไม่ชอบอ่านเรื่องของตัวละครหลักได้รับความพ่ายแพ้ เรื่องดังกล่าวเป็นจริงไหม?
คำตอบ: ไม่สำคัญว่าจะเป็นนิยายประเภทไหน ถ้าตัวละครหลักพ่ายแพ้สูญเสีย มันง่ายที่ผู้อ่านหลายคนจะไม่ชอบอ่านแบบนี้ แต่นี่ไม่ได้หมายความว่าคุณห้ามเขียนให้ตัวละครหลักสูญเสียอะไรเลย แต่คุณจำเป็นต้องใช้เทคนิคในการเล่าเรื่องที่ไม่ทำร้ายจิตใจผู้อ่านในบางด้าน ตัวอย่างเช่น เขียนให้เพื่อนร่วมทีมของตัวละครหลักสองคน มีเหตุต้องพลาดการเข้าแข่งขัน ทำให้ต้องใช้สมาชิกตัวสำรองลงแข่งขันแทน ส่งผลให้ทีมตัวละครหลักพ่ายแพ้อย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ นี่จะทำให้ผู้อ่านส่วนมากยอมรับได้
6. ฉันแยกแต่ละบทด้วยพล็อตในเรื่อง แต่บางพล็อตของฉันสั้นมาก และจำนวนคำไม่มากพอ ทำให้บทนั้นๆ สั้นมาก ฉันควรจะทำอย่างไรดี?
คำตอบ: ในแต่ละบท ไม่จำเป็นต้องมีพล็อตย่อยเต็มเหตุการณ์ ที่จริงแล้ว บางทีมันยิ่งดีกว่าที่จะตัดออกไปครึ่งหนึ่งและจบบทลงระหว่างเกิดเหตุการณ์ความเป็นความตายกำลังจะแตกหัก หากคุณใส่พล็อตย่อยให้จบภายในบทพอดี ที่จริงแล้วผู้อ่านจะเกิดความอยากอ่านบทต่อไปน้อยลงได้
7. ฉันได้ยินคำแนะนำจากอาจารย์นักเขียนมืออาชีพว่า การดำเนินเหตุการณ์ในตอนเริ่มเรื่องนั้น ต้องเป็นไปอย่างว่องไว พร้อมกับแนะนำปัจจัยความได้เปรียบ อันตราย และไคลแมกซ์ย่อย องค์ประกอบเหล่านี้จำเป็นต้องเสนอออกมาภายในบทแรกเลยหรือเปล่า?
คำตอบ: ตามหลักการแล้ว มันควรนำเสนอให้ไวที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ มันจะดีที่สุดถ้าองค์ประกอบเหล่านี้ได้ถูกนำเสนอออกมาในบทแรก เมื่อถึงเวลาดำเนินเรื่องจริงๆ อย่างไรก็ตาม ขึ้นอยู่กับสไตล์การเล่าเรื่องเฉพาะของคุณกับความสามารถในการเขียนของคุณมากกว่า หากเนื้อเรื่องของคุณสนุกมากเกินพอที่จะดึงดูดผู้อ่านได้โดยไม่ต้องพึ่งองค์ประกอบเหล่านี้ อย่างนั้นก็ไม่มีปัญหาเลย ถ้าคุณจะนำเสนอองค์ประกอบเหล่านี้ในบทต่อไปทีหลัง
...................................................................................