ตอนที่แล้วบทที่ 20 คำถามที่พบบ่อย (FAQ) ตอน 1
ทั้งหมดรายชื่อตอน
ตอนถัดไปบทที่ 22 คำถามที่พบบ่อย (FAQ) ตอน 3

บทที่ 21 คำถามที่พบบ่อย (FAQ) ตอน 2


บทที่ 21 คำถามที่พบบ่อย (FAQ) ตอน 2

1. จำเป็นหรือไม่ ที่ในทุกสามสี่บท จะต้องขอให้ผู้อ่านโหวตและเพิ่มนิยายของคุณในห้องสมุดนิยายของพวกเขา?

คำตอบ: การมีปฏิสัมพันธ์กับผู้อ่านและขอให้พวกเขาสนับสนุนนั้นมีประโยชน์กับนักเขียนแน่นอน นี่จะช่วยให้ผู้อ่านมีความรู้สึกว่าเขาไม่ใช่คนแปลกหน้าและมีส่วนร่วมในนิยายของคุณ แต่อย่างไรก็ตาม หากนิยายของคุณได้รับความนิยมน้อยมาก วิธีนี้คงไม่มีผลอะไรมาก ดังนั้นคุณควรจะพุ่งความสนใจไปที่ปรับปรุงเนื้อหานิยายของคุณให้ดียิ่งขึ้น ถ้าคุณยังมีพลังงานพิเศษเหลืออยู่หลังจากเขียนเรื่องหลัก คุณควรพยายามมีปฏิสัมพันธ์กับผู้อ่านในส่วนของรีวิวนิยายหรือในดิสคอร์ดเซิร์ฟเวอร์

2. ถ้าหากฉันเป็นนักเขียนแบบฟรีสไตล์ ฉันจะสามารถเขียนนิยายที่มีพล็อตเรื่องผสมหลายแนวอย่างชัดเจนให้ดีได้อย่างไร?

คำตอบ: ที่จริงแล้ว ไม่มีความขัดแย้งระหว่างสองสไตล์แม้แต่นิดเดียว เมื่อนักเขียนมืออาชีพได้ยินคำถามแบบนี้ เขาเดาได้ทันทีว่า ปัญหาคือคุณจะเขียนพล็อตยุ่งเหยิงเพราะคุณถนัดเขียนเรื่องแบบฟรีสไตล์ หากเป็นในกรณีนี้ โครงเรื่องโดยรวมของคุณจะมีความสำคัญมากในการช่วยควบคุมเรื่องนี้ สิ่งที่คุณควรทำคือใช้เวลาตั้งใจเขียนโครงเรื่องโดยรวมอย่างรอบคอบให้เรียบร้อย จนได้กรอบการทำงานที่ชัดเจน และหลังจากนั้นคุณสามารถปลดปล่อยจินตนาการได้อย่างอิสระ เมื่อคุณเริ่มเขียนเนื้อเรื่อง คุณสามารถจินตนาการอะไรก็ได้ตามที่คุณชอบ แต่เมื่อเกิดไอเดียใหม่ คุณควรตรวจตราว่ามันเข้ากับโครงเรื่องโดยรวมหรือไม่ ถ้าได้ก็เอามาใช้เลย แต่ถ้ามันทำให้เรื่องเดินออกไปนอกทิศทางของโครงเรื่อง ถ้างั้นคุณควรทิ้งความคิดนั้นไปเสีย

3. ฝีมือการเขียนของฉันยังน้อย ดังนั้นตัวละครที่ฉันออกแบบขึ้นมา ไม่มีเอกลักษณ์อะไรพิเศษนอกจากชื่อของพวกเขา นั่นเป็นเหตุผลว่าทำไมพวกตัวละครรองถูกกำจัดไปเพียงไม่นานหลังจากปรากฏตัวครั้งแรก ไม่ว่าจะเกิดจากภัยพิบัติสวรรค์ลงโทษ หรือจากตัวละครฆ่ากันเองในเรื่อง! แต่มีตัวละครรองบางตัวที่ช่วยให้พล็อตเรื่องเดินไปข้างหน้า เช่น บุคคลอัจฉริยะคนหนึ่งชื่อทอม เป็นตัวละครหลักที่ได้พบแค่หนึ่งครั้งก่อนหน้า ตัวละครทอมคนนี้ แค่ปรากฏหนึ่งครั้งที่หนึ่งแสนคำ และครั้งที่สอง ที่หนึ่งแสนห้าหมื่นคำ ฉันกังวลว่าผู้อ่านจะจำตัวละครรองตัวนี้ไม่ได้ เนื่องจากเขาปรากฏตัวอีกทีที่ห้าหมื่นคำต่อมา เพราะว่าฝีมือเขียนเรื่องของฉันยังด้อย และไม่ได้ออกแบบตัวละครตัวนี้ให้มีเอกลักษณ์อะไรพิเศษ... หรือฉันกังวลเรื่องไม่เป็นเรื่อง?

คำตอบ: สิ่งนี้เป็นปัญหาแท้จริง แต่วิธีแก้ที่จริงก็ง่ายพอสมควร แน่นอนว่าวิธีที่ดีที่สุดในการจัดการกับปัญหานี้คือพัฒนาฝีมือการเขียนของคุณให้สามารถอธิบายตัวละครได้อย่างมีประสิทธิภาพ แต่ถ้าหากคุณยังไม่สามารถทำได้ คุณอาจพิจารณาติดฉลากให้ตัวละคร ใช้หนึ่งหรือสองอย่างง่ายๆ เป็นฉลากอธิบายง่ายๆ ที่มีความสัมพันธ์กับตัวละครบางตัว เช่น คุณสามารถเขียนให้ตัวละคร ก. ใส่เสื้อคลุมสีแดงสดเสมอ เมื่อทำแบบนี้ ต่อไปเมื่อเรื่องเอ่ยถึงเสื้อคลุมแดงสดครั้งใด ผู้อ่านจะนึกถึงตัวละคร ก. ทันที เพื่อที่จะใช้วิธีตามตัวอย่างนี้ คุณอาจเขียนให้ตัวละคร ข. มีสัตว์เลี้ยงจิตวิญญาณเกาะบนบ่า ตัวละคร ค. จะเล่นลูกบอลเหล็กในมือเป็นประจำ ตัวละคร ง. มักจะพูดสั้นมากเท่าที่จำเป็นและมีสีหน้าเย็นชาอยู่เสมอ ตัวละคร จ. มีคำพูดติดปากที่จะพูดออกมาเมื่อปรากฏตัวอยู่เสมอ นอกจากสิ่งเหล่านี้ คุณอาจใช้วิธีการเขียนให้เกินจริง เช่น คุณอาจเขียนให้ตัวละครที่มีนิสัยธรรมดาบางอย่าง มีมากเกินจริง เช่นมีความขี้กลัว หรือโกรธง่าย ทำให้กลายเป็นเอกลักษณ์ของตัวละครได้ สิ่งที่กล่าวมาเหล่านี้ทั้งหมดเป็นวิธีง่ายๆ ที่ช่วยให้ผู้อ่านจำตัวละครต่างๆ ได้ รวมถึงตัวละครที่นานๆ จะปรากฏตัวเป็นครั้งคราวด้วย

4. มีความจำเป็นมากแค่ไหน ที่จะต้องบอกเล่าภูมิหลังของตัวละครหลักในบทแรก? จะมีผลเสียอะไรไหมหากฉันยังไม่บอกเรื่องภูมิหลังของตัวละครหลักจนกระทั่งถึงบทที่สี่ หรือหลังไปอีก?

คำตอบ: สิ่งนี้ขึ้นอยู่กับสถานการณ์ในเรื่อง ตามทฤษฎีแล้ว การแนะนำภูมิหลังของตัวละครหลักในบทไหนก็ใช้ได้ ยกตัวอย่างเช่น หากเรื่องของคุณเกี่ยวกับตัวละครหลักมีอาการความจำเสื่อม ถ้าอย่างนั้นก็เป็นเรื่องปกติมากสำหรับเขา/เธอ ที่จะไม่รู้ตัวตนของตนเองจนกว่าจะถึงบทสุดท้าย แต่ในความเป็นจริง นอกจากเงื่อนไขพิเศษอย่างอาการความจำเสื่อม ปกติแล้วควรจะแนะนำภูมิหลังของตัวละครหลักให้ไวที่สุดเท่าที่จะไวได้ นอกจากพล็อตเรื่องของคุณมีเงื่อนไขพิเศษกำหนดไว้กับตัวตนของตัวละครหลัก การแนะนำภูมิหลังของตัวละครหลักในบทแรกเป็นตัวเลือกที่ดีที่สุด

5. ทำไมถึงมีคำแนะนำว่า ให้ใส่ตัวแปรความได้เปรียบกับตัวละครหลักให้น้อยที่สุดเท่าที่จะน้อยได้? จะไม่ดีกว่าหรือที่จะให้ตัวละครหลักมีพลังมากเกินเข้าไว้ ผู้อ่านจะได้ชอบใจมากขึ้น?

คำตอบ: หากตัวละครหลักมีพลังความได้เปรียบมากเกินไปจะเกิดปัญหาสองข้อหลัก ข้อแรก มันจะทำให้เรื่องของคุณสับสนวุ่นวาย มองไม่เห็นแก่นแท้ของเรื่อง เช่นเดียวกับสิ่งที่สะท้อนคุณลักษณะพิเศษของเรื่องนั้นๆ ข้อสอง นั่นจะทำให้ตัวละครของคุณมีพลังมากเกินอย่างที่กล่าวมา นั่นจะทำลายความสมดุลของเรื่อง และจะทำให้การเขียนเรื่องพัฒนาต่อไปข้างหน้าได้ยาก อีกทั้งเมื่อใช้พลังตัวแปรความได้เปรียบเพื่อให้ได้รับชัยชนะ โดยทั่วไปผู้อ่านจะได้รับความพึงพอใจมากที่สุดเมื่อเห็นตัวละครหลักใช้พลังความได้เปรียบอย่างลับๆ แต่ถ้าตัวละครหลักใช้พลังความได้เปรียบอย่างเปิดเผยเพื่อเอาชนะคู่ต่อสู้ นั่นจะทำให้ความลุ้นระทึกและความตื่นเต้นจางหายไปหมด

6. ทำอย่างไรถึงจะให้ผู้อ่านมีความคาดหวังต่อตัวละครหลักที่พยายามเพิ่มระดับพลังอยู่เสมอ?

คำตอบ: คำถามนี้ค่อนข้างง่ายทีเดียว ทั้งหมดที่คุณต้องทำคือ ปล่อยให้ผู้อ่านเข้าใจประโยชน์ของการเพิ่มระดับพลัง ว่ามันไม่ใช่แค่ตัวเลขหรือแค่ชื่อเรียก ยกตัวอย่างเช่น ความสามารถอะไรที่ตัวละครหลักของคุณจะได้รับ หลังจากเพิ่มระดับพลังแล้ว? อะไรที่เขา/เธอเคยทำไม่ได้มาก่อนหน้านี้? ตอนนี้ตัวละครหลักแข็งแกร่งขึ้นแค่ไหน? จะเกิดอะไรขึ้นถ้าเขาได้กลับไปสู้กับคู่ต่อสู้ที่ก่อนหน้านี้ไม่สามารถเอาชนะได้? หลังจากได้รับการเพิ่มระดับแล้ว สถานะทางสังคมของเขาจะเปลี่ยนไปในด้านไหน? ผู้คนในเรื่องจะมีความเห็นแตกต่างกันต่อเขา/เธออย่างไร? ตัวละครหลักมีความยากลำบากแค่ไหน ก่อนจะเพิ่มระดับพลัง และมีความอันตรายมากแค่ไหน...? องค์ประกอบทั้งหมดเหล่านี้สามารถสื่อสารออกมาทำให้ผู้อ่านได้มีอารมณ์ร่วมไปกับสถานการณ์ต่างๆ ในเรื่อง ทั้งก่อนและหลังการเพิ่มระดับพลังของตัวละครหลัก ซึ่งจะทำให้ผู้อ่านเกิดความคาดหวังได้โดยธรรมชาติ

7. บางครั้ง ฉันไม่สามารถคิดสร้างเหตุการณ์ดีๆ ได้เลย ฉันไม่รู้จะเขียนอะไรลงไปในเนื้อเรื่อง ฉันจะทำอย่างไรดีในสถานการณ์เช่นนี้?

คำตอบ: ก่อนอื่น ถ้าหากคุณไม่สามารถคิดเหตุการณ์ดีๆ ได้เลยในหัว มันก็ยังไม่เป็นไรที่จะเขียนเหตุการณ์ธรรมดาๆ ลงไป และถ้าคุณไม่มีความคิดสร้างสรรค์อะไรเกิดขึ้นเลยในการที่จะดำเนินเรื่องต่อไป วิธีหนึ่งก็คืออ่านหรือดูเรื่องของคนอื่น รวมถึงสื่อต่างๆ ที่ไม่ใช่นวนิยายด้วย พยายามหาแรงบันดาลใจจากคนอื่น อีกวิธีหนึ่งคือ ให้ตัวละครตัวหนึ่งผลักดันให้เรื่องดำเนินไปข้างหน้า โดยพิจารณาจากสถานการณ์ปัจจุบันในเรื่อง และตัวละครหลายคนที่บุคลิกแตกต่างกัน มีแนวโน้มว่าจะทำอะไร ซึ่งสิ่งนี้จะช่วยผลักให้พล็อตเรื่องเคลื่อนไปข้างหน้าได้

.....................................................................................

0 0 โหวต
Article Rating
0 Comments
Inline Feedbacks
ดูความคิดเห็นทั้งหมด