บทที่ 16 การคิดหัวข้อสำหรับเขียนนิยายของคุณ – สร้างสิ่งที่ไร้สาระและทำให้มันเป็นไปได้
บทที่ 16 การคิดหัวข้อสำหรับเขียนนิยายของคุณ – สร้างสิ่งที่ไร้สาระและทำให้มันเป็นไปได้
ในหลายบทความก่อนหน้าได้มีการกล่าวถึงการสอนนักเขียนมือใหม่ถึงวิธีการสร้างเรื่อง การคิดหัวข้อที่จะเขียนเรื่องให้เป็นต้นแบบแท้จริง โดยเฉพาะการปรับปรุงและการสร้างสรรค์เพิ่มเต็มจากงานของนักเขียนอื่นที่เผยแพร่แล้ว ในบทความนี้จะมีการแนะนำอีกวิธีหนึ่ง นั่นคือ การสร้างสิ่งไร้สาระและทำให้มันเป็นไปได้ หรือ พูดอีกอย่างว่า ทำให้มันผิดพลาด แล้วปฏิเสธที่จะยอมรับผิด และใช้ความผิดพลาดนั้นในเรื่องของคุณ
ก่อนอื่น เราควรคิดอะไรนอกกรอบขึ้นมาแบบสุ่ม ที่ไม่อิงกับสามัญสำนึก แค่ลองคิดเรื่องแบบสุ่มสี่สุ่มห้าขึ้นมา พูดบางสิ่งที่ผิดอย่างเห็นได้ชัดออกมา แล้วพยายามคิดหาวิธีทำให้มันสมเหตุสมผล นี่รวมทั้งองค์ประกอบของเรื่องที่ผิดหลักวิทยาศาสตร์อย่างเห็นได้ชัดด้วย
เราจะยกตัวอย่างในที่นี้คือ บางทีในเรื่องของคุณพระอาทิตย์ขึ้นทางตะวันตก ซึ่งไม่สมเหตุผลอย่างสิ้นเชิง แม้ว่าจะเป็นอย่างนั้น คุณยังสามารถพยายามหาคำอธิบายมาใช้ทำให้มันดูเหมือน “สมเหตุผล” ตัวอย่างเช่น บางทีเพราะมันเกิดเหตุการณ์การทำลายล้างอย่างรุนแรงในกาแล็กซี ทำให้เกิดเหตุการณ์เหนือธรรมชาติขึ้นมากมาย รวมถึงการหมุนรอบตัวเองของโลก หมุนกลับด้าน แรงดึงดูดผันผวน สิ่งมีชีวิตในโลกเกือบจะสูญพันธุ์หมดโลก และมนุษยชาติอยู่ในสภาวะเสี่ยงกับการถูกทำลาย... ไอเดียอย่างนี้โดยธรรมชาติจะนำไปสู่เรื่องราวเกี่ยวกับโลกอนาคตที่หายนะ
อีกตัวอย่างหนึ่งให้เราลองพูดว่า “วันนี้เป็นวันที่เจ็ด หลังจากฉันตายแล้ว” เห็นได้ชัดว่าคำกล่าวอย่างนี้ผิดปกติ เพราะถ้าฉันตายแล้ว ฉันจะยังพูดเสียงดังออกมาอย่างนั้นได้อย่างไร? แต่เนื่องจากเราต้องทำให้มัน “เป็นไปได้” เราจะคิดถึงคำอธิบายไปร้อยแปดพันเก้า ยกตัวอย่างเช่น คำอธิบายที่ตรงที่สุดคือ ตอนนี้ฉันกลายเป็นผีไปแล้ว และนั่นเป็นคำพูดจากวิญญาณของฉัน และในกรณีนี้ เรื่องก็จะกลายเป็นนิยายประเภทลึกลับ หลังจากนั้น ฉันสามารถไปสืบสวนหาสาเหตุการตายของตนเองได้ พบฆาตกร และแก้แค้น...
แน่นอนว่ามันไม่จำเป็นต้องเป็นเรื่องลึกลับ บางทีอาจเป็นว่า ฉันแกล้งสร้างเหตุการณ์งานศพหลอกว่าฉันตายแล้ว แล้วทำไมฉันต้องทำอย่างนั้น? ทำไมฉันต้องหลอกคนอื่น? ฉันกำลังวางแผนวางกับดักอะไร? หากคุณคิดต่อเนื่องไปในแนวนี้ มันจะมีความเป็นไปได้ไม่จบสิ้น อย่างเช่นการต่อสู้ระหว่างตระกูลที่ร่ำรวย คู่แข่งทางการค้า หรือแม้แต่มีเรื่องการต่อสู้เข้ามาเกี่ยวข้อง สิ่งเหล่านี้เป็นไปได้ทั้งนั้น
คุณสามารถแม้กระทั่งใช้เรื่องความพลิกผันแบบเรื่องโบราณ โดยกล่าวทำนองว่า ฉันกำลังค้นหาเส้นทางสู่ความเป็นอมตะ และต้องการตัดขาดจากโลกที่น่าเบื่อหน่าย หรือ ฉันต้องการที่จะหลอกสวรรค์ให้เชื่อว่าฉันตาย...
การระดมความคิดทั้งหมดนี้ ที่จริงแล้วเกิดจากนักเขียนลองพูดให้ผิดพลาดว่า ตัวละครบางตัวเสียชีวิต คือตัวละครหลักเสียชีวิตแทน
และในการที่จะทำให้ความไม่สมเหตุผลในเหตุการณ์ ให้สมเหตุผลขึ้นมา ขบวนการคิดแบบใหม่ต่อพล็อตเรื่องของคุณจะปรากฏขึ้นมาโดยอัตโนมัติ
นั่นเป็นเพราะเรื่องทุกเรื่องมีพื้นฐานความขัดแย้งเป็นหลัก เช่นเดียวกับสิ่งที่เหนือธรรมชาติต่างๆ
แน่นอนว่าความผิดพลาดแบบสุ่มนี้อาจไม่ง่ายที่จะค้นพบคำอธิบายที่เหมาะสมพอ และแม้ว่าคุณพบคำอธิบายสำหรับความผิดพลาดนั้น มันอาจเป็นหัวข้อที่ไม่คุ้มกับการเสียเวลาเขียนมัน แต่มันจะเป็นอะไรไปล่ะ?
การทำงานเขียนไม่ใช่การทำข้อสอบที่ทุกคำถามมีแค่คำตอบเดียว เราสามารถลองผิดลองถูกได้เสมอ แค่ลองพูดสิ่งไร้สาระน่าขันออกมาและลองพยายามหาคำอธิบายหรือเหตุผลมารองรับสิ่งไร้สาระเหล่านั้น เผื่อว่ามันอาจกลายเป็นหัวข้อใหม่สำหรับนิยายของคุณ ถ้ามันใช้ได้ก็บันทึกไว้ แต่ถ้าไม่ก็ทิ้งไป และเริ่มคิดถึงไอเดียไร้สาระใหม่ๆ อีก
น้ำไหลขึ้นข้างบน ปู่ของฉันตายเมื่อตอนเขาอายุห้าขวบ พ่อของฉันอายุน้อยกว่าฉันสามปี แฟนของฉันสูงแปดเมตร ฉันกินอาหาร 2,000 กิโลกรัมเมื่อวานนี้ ฉันนอนบนเตียงกว้างแปดสิบตารางเมตร ฉันมีสามตา วันนี้แมวของฉันต้องการกินยำหมูเปรี้ยวหวาน วันนี้คือวันที่ 33 ของเดือน...
มันง่ายมากที่จะคิดถึงประโยคไร้สาระน่าขันเช่นนี้ ไอเดียส่วนมากสุดท้ายแล้วจะใช้ไม่ได้ แต่ก็มีบางไอเดียที่มีศักยภาพอาจกลายเป็นเรื่องราวที่น่าสนใจถ้าคุณออกแบบสภาพเหตุการณ์ของเรื่องดีพอ
แน่นอนว่าเราไม่จำเป็นต้องคิดไอเดียไร้สาระอย่างไร้เป้าหมาย เราสามารถคิดไปพร้อมกับตั้งเป้าเฉพาะเจาะจงไปที่บางหัวข้อ หรือทิศทางเรื่องที่เราอยากจะเขียนทีละไอเดีย
ยกตัวอย่าง เราลองจำกัดแนวเอาแค่เรื่องประเภทศิลปะการต่อสู้ และหัวข้อเฉพาะเจาะจงแค่พลังปราณของตัวละครหลัก ความคิดไร้สาระอะไรที่เราจะสามารถคิดขึ้นมาได้?
การณ์ประหลาดอะไรที่สามารถเกิดขึ้นได้กับพลังปราณของเขา?
สถานเขาไม่มีพลังติดตัวเขาแม้แต่นิดเดียว เขามีพลังปราณมากกว่าปกติ พลังปราณของเขาไหลวนในทางตรงกันข้าม พลังปราณของเขาอุดตัน พลังปราณของเขาอ่อนมาก พลังปราณของเขารั่วไหลอย่างกับน้ำลอดตาข่าย...
เห็นได้ชัดว่า ตัวอย่างไอเดียข้างต้นไม่ได้มีความโดดเด่นเพียงพอสำหรับตัวละครหลัก มันเหมือนกับคุณลักษณะของคนไม่เอาไหนที่ไม่สามารถแม้กระทั่งฝึกฝนวิชาได้ แต่อย่างไรก็ตาม เราสามารถพยายามคิดต่อว่าทำอย่างไรถึงจะพลิกสถานการณ์แย่ๆ ให้กลายเป็นขุมทรัพย์ในทางสร้างสรรค์ให้ได้
ตัวอย่างเช่น บางทีตัวละครหลักของคุณไม่มีพลังปราณและไม่สามารถเก็บพลังภายในร่างกายได้ ถ้าอย่างนั้นให้เขาสามารถสื่อสารกับโลกและสวรรค์ได้โดยตรง นั่นหมายถึงเขาจะมีความได้เปรียบกว่าคนทั่วไป? หรือหากให้พลังปราณเขาอ่อนแอมาก ถ้างั้นลองตั้งใจให้เขาเรียนรู้การควบคุมพลังภายในได้อย่างเก่งกาจ อย่างที่ไม่มีใครสามารถทำได้แม่นยำอย่างเขา...
เมื่อเราประเมินไอเดียเหล่านี้ทีละขั้นแล้ว พวกไอเดียที่ไม่สามารถสร้างคำอธิบายได้เหมือนสมเหตุผล และไอเดียที่ซ้ำซากเกินไป หรือไอเดียที่ไม่มีตัวแปรเติมเต็มให้ชีวิต เราจะตัดทิ้งไป หลังจากนั้นไอเดียที่เหลือจะกลายเป็นหัวข้อเรื่องใหม่ที่เราต้องการ
และถ้าหากว่าคุณพบว่า เมื่อตัดไอเดียที่ใช้ไม่ได้ทิ้งไป แล้วไม่เหลืออะไรเลย นั่นก็ไม่เป็นไร เราคิดหาไอเดียไร้สาระอื่นๆ ขึ้นมาใหม่ได้ไม่ใช่หรือ?
...................................................................................