บทที่ 7 วิธีการเขียนบทเริ่มเรื่องของนิยายออนไลน์
บทที่ 7 วิธีการเขียนบทเริ่มเรื่องของนิยายออนไลน์
ช่วงเริ่มต้นของนิยายเรื่องใดๆ ก็ตาม มีความสำคัญอย่างมาก นี่เป็นข้อเท็จจริงที่นักเขียนนิยายเกือบทุกคนรู้อยู่แก่ใจเสมอ แต่ไม่ว่าอย่างไรก็ตาม ตอนเริ่มต้นเรื่องมันสำคัญมากแค่ไหน และเราควรใช้พยายามมากเท่าใดในการเขียนเนื้อเรื่องช่วงเริ่มต้น? บางทีอาจไม่มีผู้แต่งนิยายคนใดรู้เลย
ที่จริงแล้ว วรรณกรรมอย่างนิยายออนไลน์มีความเป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัวของมัน เป็นความจริงที่มันสามารถเขียนได้ด้วยต้นทุนที่ต่ำมาก หมายถึงมันยากที่จะได้เป็นที่รู้จักแพร่หลายอย่างภาพยนตร์ทำเงินเรื่องดังเหล่านั้น ในขณะที่ธรรมชาติของนิยายออนไลน์ที่ต้องอัปเดตบทใหม่อย่างสม่ำเสมอบนเว็บอ่านนิยาย ทำให้มันยากที่นักเขียนจะทำนายว่าจะมีเหตุการณ์ตื่นเต้นเอาไปใช้ในเรื่องทีหลังได้
ที่สำคัญมากกว่านั้น ด้วยจำนวนนิยายออนไลน์ที่มากมายมหาศาลมีให้อ่านในเว็บอ่านนิยายบนอินเทอร์เน็ต ไม่ว่าจะเป็นนิยายแปลโรมานซ์ นิยายแฟนฟิคชั่น นิยายรักออนไลน์ นิยายสืบสวน นิยายสยองขวัญ นิยายจีนกำลังภายใน นิยายรักจีนโบราณ นิยายกำลังภายใน นวนิยายแนวสืบสวน นิยายระทึกขวัญ นิยายแฟนตาซี นิยายจีนแปลไทยก็มีให้อ่านกันนับไม่ถ้วน ในขณะที่นักอ่านเองก็มีเวลาและความอดกลั้นจำกัด พวกเขาจะเลือกอ่านนวนิยายเพียงสามสี่เรื่องจากหลายร้อยเรื่องที่อยู่ตรงหน้าพวกเขา พวกเขาจะไม่ยึดติดและเสียเวลาอ่านเรื่องที่มีบทเริ่มเรื่องธรรมดาเกินไป หากตอนต้นเรื่องนิยายของคุณไม่สามารถดึงดูดพวกเขาได้ มีความเป็นไปได้มากที่เขาจะไม่อ่านแม้กระทั่งผ่านบทแรกด้วยซ้ำ
หากมีเพียงบทเริ่มเรื่องนิยายของคุณดี นั่นจะไม่ทำให้นิยายของคุณเป็นที่นิยมด้วยตัวมันเอง แต่ไม่ต้องสงสัยเลยว่า การมีบทเริ่มต้นที่ดีมากจะช่วยให้นิยายของคุณมีความได้เปรียบเหนือเรื่องอื่นๆ อย่างไม่ต้องสงสัย อย่างกับคำเปรียบเปรยที่ว่า การเริ่มต้นที่ดีมีพลังเปลี่ยนเรื่องน่าเบื่อให้น่าสนใจได้ แต่ว่า แบบไหนล่ะที่เรียกว่าการเริ่มเรื่องดี?
สำหรับนักเขียนนิยายมือใหม่ การเขียนบทเริ่มต้นที่ดีจะมีมาตรฐานแค่สองแบบเท่านั้นคือ ง่าย และ น่าสนใจ ตอนนี้เราลองมาเริ่มวิเคราะห์กันว่า จะทำอย่างไรให้สามารถเขียนบทเริ่มต้นให้ได้อย่างสองมาตรฐานที่เหมือนธรรมดานี้ได้
1. การเริ่มเรื่องอย่างง่าย
บทเริ่มต้นของนิยายของคุณสำคัญมากกว่าอะไรทั้งหมด มันเป็นตัวตัดสินว่าผู้อ่านจะเลือกอ่านนิยายของคุณหรือไม่ เมื่อมองในมุมมองเชิงการตลาด บทเริ่มต้นของนิยายออนไลน์ทำหน้าที่เหมือนการโฆษณาให้นิยายของคุณไปในตัวด้วย
เราสามารถจัดหมวดหมู่ให้บทเริ่มต้นของนิยายของคุณและเนื้อเรื่องหลักแยกกันเป็นคนละหมวดได้อย่างเด็ดขาด หรือพูดอีกอย่างก็คือ คุณสามารถมองบทเริ่มต้นเรื่องว่าเป็นการโฆษณา บวกกับเนื้อเรื่องหลักในบทต่อมาก็ได้
ผู้อ่านส่วนมากจะไม่เลือกอ่านเนื้อเรื่องหลักนิยายของคุณอย่างไม่ต้องสงสัย เว้นแต่พวกเขาจะถูกใจบทโฆษณาของคุณ อีกทั้งผู้อ่านส่วนมากจะไม่มีความอดทนมากพอที่จะอ่านโฆษณาที่ยาวและน่าเบื่อเหล่านั้น
ดังนั้น โฆษณาของคุณจำเป็นต้องทั้งน่าสนใจมากเท่าที่จะเป็นไปได้ และสั้นเท่าที่จะสั้นได้ ยิ่งตรงประเด็นเท่าไรยิ่งดีเท่านั้น
สำหรับนักเขียนมือใหม่โดยเฉพาะ คุณต้องจำให้ขึ้นใจว่า พื้นที่บทเริ่มต้นนั้นมีค่ามาก แต่ความมีค่านั้นไม่ใช่คำที่คุณเขียน แต่เป็นปริมาณพื้นที่ที่คุณใช้เขียนต่างหาก!
ดังนั้น ทำอย่างไรเราถึงจะรู้ว่าควรใช้พื้นที่สำหรับบทเริ่มต้นได้อย่างเหมาะสม ไม่ใช้พื้นที่อันมีค่านี้ไปโดยเปล่าประโยชน์? เราสามารถลองเริ่มเขียนโดยอิงหลักการจากสามตัวแปรข้างล่างนี้
(1) ขจัดเนื้อหาที่ไม่เกี่ยวข้องออกไป
นักเขียนมือใหม่ที่ยังไม่มีประสบการณ์บางคน เขียนบทเริ่มต้นนิยายของเขาเหมือนกับเนื้อเรื่องหลัก โดยบรรยายเหตุการณ์แต่ละฉากอย่างละเอียดยิบ หรือแม้กระทั่งเพิ่มคำฟุ่มเฟือย วิธีเขียนแบบนี้ไม่ฉลาดเลย
สำหรับเรื่องในช่วงเริ่มต้น เราควรพินิจพิจารณาบทพูดทุกบรรทัด คำอธิบาย และแม้แต่คำโดดๆ แต่ละคำอย่างรอบคอบ ประโยคเหล่านี้มีความหมายสำคัญไหม? คำเหล่านี้จำเป็นมากสำหรับบทเริ่มต้นนิยายของฉันไหม?
ถ้าฉันลบย่อหน้านี้ออกไป มันจะทำให้การโฆษณาตอนเริ่มต้นของนิยายลดความสัมฤทธิ์ผลลงไหม? ถ้าฉันลบประโยคนี้ มันจะมีผลกระทบกับพล็อตในเรื่องของฉันไหม?
ถ้าคำตอบคือ “ใช่” คุณก็เก็บประโยคหรือย่อหน้านี้ไว้ได้ ไม่อย่างนั้น ไม่ว่าคุณในฐานะนักเขียนจะรักสำนวนการเขียนของคุณแค่ไหน แต่ถ้ามันไม่มีเหตุผลที่คำเหล่านี้จะต้องอยู่ในตอนเริ่มต้นเรื่อง เราควรกัดฟันเสียสละบ้างในบางครั้ง
(2) ลดข้อมูลพิเศษใดๆ ที่ไม่จำเป็น
ข้อมูลพิเศษในที่นี้อ้างถึงข้อมูลที่ผู้อ่านพยายามอ่านและจดจำอย่างไม่ได้ตั้งใจ สิ่งเหล่านี้รวมถึงคำที่คุณประดิษฐ์ขึ้นเพื่อใช้ในนิยายของคุณ ข้อมูลสภาพเหตุการณ์ เนื้อเรื่อง และอื่นๆ ถ้าให้เฉพาะเจาะจงมากขึ้นคือชื่อผู้คนในเรื่อง สถานที่ ชื่อทางเทคนิค ความสัมพันธ์ระหว่างตัวละคร ฯลฯ...
เรามาลองใช้ตัวละครเพื่อยกตัวอย่างกัน ในตอนเริ่มเรื่องควรมีตัวละครปรากฏตัวกี่คน?
คำตอบนั้นง่ายมาก ตราบใดที่พล็อตเปิดทางให้ทำได้ นอกจากตัวละครหลักซึ่งจำเป็นอยู่แล้ว จะเป็นการดีที่สุดให้ตัวละครอื่นปรากฏตัวให้น้อยที่สุดแค่สามสี่คนเท่านั้นที่จะเป็นไปได้
นี่เป็นเพราะว่าเมื่อคุณเขียนให้ตัวละครอื่นปรากฏออกมาด้วย ผู้อ่านจำเป็นต้องเพิ่มความสนใจในการจดจำชื่อตัวละครเหล่านี้เพื่อที่จะได้แยกแยะออกได้ และผู้อ่านยังต้องจำว่าลักษณะของแต่ละคนเป็นอย่างไร พร้อมกับความสัมพันธ์ระหว่างพวกเขาต่อตัวละครหลักและต่อทุกคนในกลุ่ม ที่จริงผู้อ่านอาจแม้กระทั่งมีปัญหาในการแยกแยะว่าใครกันแน่คือตัวละครหลักของเรื่อง นี่เป็นการเพิ่มข้อมูลพิเศษที่ไม่จำเป็นลงไปอย่างไม่ต้องสงสัย
และนี่เป็นเหตุผลว่าตราบใดที่พล็อตเปิดช่องให้ มันเป็นการดีที่สุดที่จะให้มีตัวละครเพียงแค่สามสี่คนในตอนเริ่มเรื่องนิยายของคุณเท่านั้น ตัวละครไหนไม่สำคัญอย่างมากต่อเนื้อเรื่อง ไม่ควรปรากฏตัวออกมาก่อน
สิ่งอื่นก็เช่นกัน ข้อมูลพิเศษอะไรที่ไม่จำเป็นจริงๆ ควรจะลบออกไปโดยไม่ต้องคิดมาก แม้เพียงประโยคสั้นที่อธิบายสภาพเหตุการณ์สั้นๆ ไม่กี่คำ อาจเป็นสาเหตุให้ผู้อ่านหมดความสนใจในนิยายของคุณได้ ซึ่งจะเลวร้ายกว่าการมีบรรยายฉากในเรื่องอย่างไร้สาระในการดำเนินเรื่องของคุณเสียอีก
(3) ใส่ข้อมูลน่าเบื่อที่จำเป็น ลงในตอนต่อๆ มาในนิยายของคุณ
บางครั้ง มันเป็นสิ่งจำเป็นที่จะต้องเขียนเนื้อเรื่องส่วนที่ค่อนข้างน่าเบื่อแต่สำคัญอย่างมากลงในนิยายของคุณ อย่างเช่นฉากหลังของโลกในเรื่อง สภาพเหตุการณ์พิเศษต่างๆ ความสัมพันธ์ของตัวละคร และอื่นๆ ในเนื้อเรื่องบางช่วง เช่นชีวิตที่น่าเศร้าของตัวละครหลักก่อนที่เรื่องจะเริ่มต้นขึ้น อาจไม่ใช่ข้อมูลที่จำเป็นอย่างที่สุด แต่ถ้ามันไม่มีอยู่ในเรื่องไว้สำหรับเปรียบเทียบ ก็จะทำให้เนื้อเรื่องที่เหลือรู้สึกเหมือนไร้ความน่าเชื่อถือลงไปได้
ในสถานการณ์เช่นนี้ แทนที่จะบังคับให้เราเขียนเรื่องส่วนที่ค่อนข้างน่าเบื่อลงในตอนเริ่มเรื่อง ที่ที่ทุกคำมีค่าดั่งทองคำ เราสามารถลองวิธีอื่นแทนได้ เช่น เป็นไปได้ไหมที่จะเขียนข้อมูลนี้ลงในเนื้อเรื่องส่วนหลังแทน?
ยกตัวอย่างเช่น ที่มาของสาเหตุเบื้องหลังเรื่องราวของคุณ อาจจะใส่ลงไปในบทต่อมา และค่อยๆ เปิดเผยเบื้องหลังออกมาให้ผู้อ่านรู้ทีละน้อยขณะที่เรื่องเริ่มคลี่คลายออกมาจะได้ไหม? มันจำเป็นแค่ไหนที่จะต้องปรากฏตั้งแต่บทแรก? มันจำเป็นมากไหมที่ต้องบอกผู้อ่านเกี่ยวกับโลกเบื้องหลังก่อนบอกเรื่องราวตัวละครในเรื่อง?
ถ้าเป็นไปได้ ทำไมไม่เขียนใส่ลงไปในบทต่อๆ มา เพื่อที่เราจะได้เขียนบทเริ่มต้นเรื่องได้เรียบง่ายและให้ผลดีเยี่ยม
2. บทเริ่มต้นที่น่าสนใจ
การเริ่มต้นเรื่องที่น่าสนใจคืออะไร ถ้าจะกล่าวให้ชัดเจนยิ่งขึ้น มันคือ “การเริ่มเรื่องที่ดึงดูดผู้อ่านได้” การเริ่มเรื่องของคุณจะต้องแสดงสิ่งที่น่าสนใจที่สุดออกมาอย่างว่องไว และพร้อมกับจุดเด่นเฉพาะตัวอะไรก็ตามของเนื้อเรื่องที่คุณมี เพื่อที่มันจะได้ดึงผู้อ่านไว้และทำให้พวกเขาอยากอ่านต่อผ่านบทแรกของนิยายไปได้
สิ่งที่จำเป็นต้องตั้งข้อสังเกตไว้คือ จุดดึงดูดใจผู้อ่านมากที่สุดในนิยายออนไลน์ไม่ใช่สิ่งที่คุณจะพบได้ในนวนิยายแบบดั้งเดิม (หนังสือจริง) นวนิยายออนไลน์ไม่จำเป็นต้องมีการต่อสู้ที่นองเลือด การใช้คำที่ลื่นไหล หรือความลึกลับระทึกขวัญใดๆ นิยายออนไลน์ต้องการตัวแปรการเติมเต็มให้ชีวิตมากกว่า นั่นคือ ผู้อ่านควรได้เรียนรู้ว่าตัวละครหลักของคุณมีอะไรพิเศษ เพื่อที่พวกเขาจะได้เห็นอนาคตที่สดใสของตัวละครหลักเหล่านั้น
เมื่อลองวิเคราะห์เจตนาของผู้อ่านนิยายออนไลน์แล้วจะพบว่า พวกเขาไม่ได้อ่านนิยายของคุณเพื่อสนองความต้องการอ่านหนังสือ แต่เจตนาที่เขาอ่านเพราะพวกเขาหวังว่าจะดำดิ่งเข้าไปในเรื่องพร้อมกับตัวละครหลักของคุณ ได้ตื่นเต้นไปกับการผจญภัย อีกทั้งได้มีประสบการณ์ในการเติมเต็ม และได้มีชีวิตที่ดีขึ้นไปพร้อมกับตัวละครหลักด้วย
นั่นก็เป็นที่แน่ชัดว่า การเขียนบทเริ่มต้นของเรื่องให้มีแรงดึงดูด ควรช่วยให้ผู้อ่านได้เข้าใจอย่างรวดเร็ว ว่านั่นคือหนังสือนิยายที่จะตอบสนองความต้องการของพวกเขา
เพื่อที่จะตอบสนองเจตนารมณ์ของพวกเขา คุณในฐานะนักเขียนจำเป็นต้องเลือกหัวข้อและเรื่องราวที่จะเอามาเขียนให้เหมาะสม แต่ถ้าไม่ต้องการเปลี่ยนหัวข้อและเนื้อเรื่อง นักเขียนมือใหม่สามารถลองตามวิธีง่ายๆ นี้ได้
(1) เลือกฉากเหตุการณ์บางอย่างที่สนุกตื่นเต้น มาเป็นตัวเปิดเรื่อง
สำหรับการเขียนเริ่มต้นเรื่องของคุณ นักเขียนบางคนอาจบอกว่า มันพูดง่ายมากกว่าลงมือทำ ถ้าหากบทเริ่มต้นมันเขียนง่ายดายอย่างนั้น นักเขียนทุกคนจะไม่เขียนมันหรือ? ถ้าพวกเขามีฉากเหตุการณ์ที่ยอดเยี่ยมขนาดนั้น นักเขียนคนไหนจะตั้งใจไม่ใช้มันเชียวหรือ?
ถ้านักเขียนมืออาชีพถามคุณว่า คุณในฐานะนักเขียน แค่ไม่มีเหตุการณ์ใดๆ น่าสนใจเฉพาะตอนเริ่มเรื่อง หรือคุณไม่มีเหตุการณ์น่าสนใจเลยตลอดทั้งเรื่อง? ถ้าเป็นอย่างหลัง ขอแนะนำว่า คุณหยุดเขียนนิยายของคุณก่อน และไปอ่านบทความเรื่องวิธีการเลือกหัวข้อสำหรับเขียนนิยาย และคิดหาไอเดียใหม่ให้นิยายของคุณ
ถ้าเป็นอย่างหลัง ทำไมคุณไม่ลองนำฉากเหตุการณ์ที่น่าสนใจที่คุณวางแผนไว้ในบทหลังๆ ย้ายมาเป็นตอนเริ่มเรื่อง คุณตั้งใจจะเขียนมันต่อไปทั้งๆ ที่ไม่มีคนอ่านสักคนเลยหรือ? และมีความสุขกับเรื่องราวหลายร้อยคำเพียงคนเดียวใช่ไหม?
นี่คือตัวอย่างของเรื่องที่มีเนื้อเรื่องซ้ำซาก
ตัวละครหลักเป็นเด็กกำพร้าผู้ถูกรังแกมาตั้งแต่เด็ก ทำให้เขามีชีวิตที่ยากเข็ญ วันหนึ่งเทพอมตะคนหนึ่งได้ให้ความช่วยเหลือและพาเขาไปสู่มิติอมตะ ที่ที่เขาได้เรียนวิชาจนเก่งกล้า หลังจากนั้นตัวละครหลักก็เดินทางกลับมามิติปกติ และประสบความสำเร็จในการปราบศัตรูจนแพ้พ่ายไป...
แม้ว่าเรื่องประเภทนี้จะค่อนข้างง่ายและซ้ำซาก แต่มันจะยังดึงดูดผู้อ่านได้จำนวนหนึ่ง ตราบใดที่คุณมีฝีมือในการเขียน ตามขบวนการเรียบเรียงเรื่องประเภทนี้ โดยปกตินักเขียนจะลำดับเหตุการณ์ตามลำดับเวลาก่อนหลังตามปกติ ตามเหตุการณ์ที่พล็อตเอาไว้ แต่อย่างไรก็ตาม ปัญหาที่เห็นได้ชัดว่า หากเขียนเรื่องเริ่มต้นไปตามพล็อตนี้ เรื่องจะเริ่มต้นได้น่าเบื่อทีเดียวอย่างไม่ต้องสงสัย อีกทั้งยังหดหู่ไม่ชวนให้อ่านต่อเลย ทำให้ยากต่อการดึงดูดผู้อ่านติดตามต่อไป
ทางแก้ปัญหาเรื่องนี้ง่ายมากทีเดียว เพียงนำช่วงเหตุการณ์ปาฏิหาริย์ที่คุณได้เขียนโครงเรื่องไว้สำหรับบทต่อๆ ไปมาดัดแปลงเป็นตอนเริ่มเรื่องแทน
ตัวอย่างเช่น เริ่มเรื่องด้วยเนื้อเรื่องหลัก คือตัวละครหลักได้พบกับเทพอมตะ และได้ฝึกฝนเรียนรู้เคล็ดวิชาจนเก่งกล้า หลังจากนั้นตัวละครหลักตื่นเต้นดีใจมาก แล้วเขาก็รำลึกถึงอดีตอันเจ็บปวด ตอนที่เขาถูกรังแกเป็นประจำ… หลังจากนั้นคุณก็สามารถกลับไปเขียนเรื่องดำเนินตามโครงเรื่องเดิมที่วางเอาไว้ตามลำดับเวลาปกติ โดยไม่ทำให้เรื่องเสียหายเลย
ด้วยการดัดแปลงแบบนั้น และเพิ่มเติมบทบรรยายเพียงสามสี่ประโยคที่ตอนเริ่มต้นของเนื้อเรื่องหลัก เพื่อให้ผู้อ่านเข้าใจทิศทางที่เรื่องดำเนินไป ที่จริงคุณไม่จำเป็นต้องเลือกช่วงปาฏิหาริย์มาใช้ก็ได้ เพียงเลือกสิ่งไหนในเนื้อเรื่องหลักที่คุณคิดว่าน่าสนใจมาใช้ คุณสามารถแม้กระทั่งใช้ตอนท้ายสุดของเรื่อง เอามาเป็นตอนเริ่มต้น เช่นให้ตัวละครหลักได้ปราบศัตรูราบคาบจนหมดโลกจนเขาเริ่มเข้าสู่วัยชราแล้วและพึงพอใจในความสำเร็จของตนเอง หลังจากนั้นเขาก็เริ่มรำลึกถึงอดีต กับความสำเร็จในการปราบเหล่าร้ายต่อเนื่องหลายสิบปีที่ผ่านมา แม้ว่าเขาจะเป็นเด็กกำพร้าที่เริ่มจากศูนย์ ถูกรังแกมาตลอด สามารถฝ่าฟันมาได้ด้วยความอุตสาหะ...
ค่อนข้างเป็นที่ชัดเจนว่า ด้วยการเลือกจุดขายมาเป็นเหตุการณ์เริ่มเรื่อง นี่จะช่วยให้นิยายของคุณเพิ่มพลังตัวแปรเติมเต็มให้ชีวิตอีกด้วย
อย่างไรก็ตาม เมื่อคุณนำเนื้อเรื่องหลักส่วนสำคัญมาวางช่วงเริ่มต้น คุณยังต้องระวังว่ามันจะทำลายความตื่นเต้นของพล็อตต่อเนื่องลง คุณควรพิจารณาว่าถ้าทำอย่างนั้นแล้วจะกระทบระดับความลุ้นระทึกของการดำเนินเรื่อง ซึ่งที่จริงมันจะมีผลกระทบแง่ลบกับอรรถรสในการอ่านไม่มากก็น้อย
ตามที่ได้ยกตัวอย่างสองแบบมาให้ดู แบบหนึ่งคือการเลือกฉากเด็ดๆ สักหนึ่งเหตุการณ์สลับมาใส่เป็นตอนเริ่มเรื่อง และอีกแบบการเอาตอนจบมาเป็นตอนเริ่มเรื่อง ซึ่งแบบหลังนี้เสี่ยงกับการทำลายพล็อตไปทั้งเรื่อง แบบหลังนี้ส่วนมากไม่แนะนำให้ทำเลย
(2) ทำให้ตัวละครหลักดูมีความพิเศษในตอนเริ่มเรื่อง
สิ่งที่เรียกว่าความพิเศษ หมายความถึงอะไรหลายอย่าง อาจจะเป็นสถานที่ใดๆ หรือ วิธีการใดๆ ที่แตกต่างจากปกติ
ตัวอย่างเช่น คุณอาจทำให้ตัวละครหลักเป็นผู้เชี่ยวชาญศิลปะการต่อสู้ ผู้ซึ่งมีความสามารถเรียนรู้วิชาได้อย่างรวดเร็ว สอนเพียงครั้งเดียวก็จำได้เลย หรือคุณจะเขียนให้ตัวละครหลักมีร่างกายพิเศษที่สามารถฝึกฝนวิชาได้เร็วเป็นสิบเท่าของคนอื่น ไม่เพียงแต่นี่เป็นการแสดงศักยภาพพิเศษของตัวละครหลักแล้ว ยังเป็นการบอกเป็นนัยว่าตัวละครหลักจะไม่ธรรมดาในอนาคต ด้วยการเขียนบทเริ่มเรื่องแบบนี้ ผู้อ่านโดยทั่วไปจะเต็มใจที่จะอ่านนิยายของคุณต่อเนื่องไป
“ความพิเศษ” ที่อ้างอิงถึงในที่นี้ ไม่จำเป็นแม้กระทั่งต้องเป็นสิ่งในแง่บวก คุณไม่จำเป็นจะต้องให้ตัวละครหลักแข็งแกร่งกว่าเพชรหรืออัจฉริยะเหนือมนุษย์ หรือหล่อราวเทพบุตร คุณสามารถแม้กระทั่งเขียนให้มันเป็นตรงข้าม
ลองดูตัวอย่าง คุณอาจเขียนให้ตัวละครหลักเป็นคนปัญญาทึบที่ไม่สามารถเรียนพูดหรือเดินได้แม้เขาจะสามขวบแล้ว หรือเป็นคนที่เรียนรู้ช้าขนาดว่า แค่พื้นฐานศิลปะการต่อสู้ง่ายๆ ที่คนอื่นใช้เวลาเรียนเพียงแค่สามสี่วัน ตัวละครหลักของคุณต้องใช้เวลามากกว่าสิบปีที่จะเข้าใจ ไม่แม้กระทั่งเชี่ยวชาญมันด้วย
การสร้างสภาพเหตุการณ์แบบนี้ ดูเหมือนจะขัดแย้งกับตัวแปรการเติมเต็มให้ชีวิต ที่เป็นสิ่งที่ผู้อ่านชอบอย่างมาก แต่เมื่อผู้อ่านได้อ่านบทเริ่มเรื่องเช่นนี้ พวกเขาจะเกิดความคาดหวังเหมือนกัน เพราะพวกเขาเข้าใจอยู่แล้วว่ามีเหตุผลที่ทำไมตัวละครหลักถึงต้องปัญญาทึบขนาดนั้น หรือตัวละครหลักจะต้องเผชิญกับปาฏิหาริย์ในอนาคต และด้วยตัวละครหลักที่มีลักษณะพิเศษเช่นนี้ จะทำให้ผู้อ่านรู้สึกถึงความสดใหม่ของนิยาย และทำให้พวกเขาอยากอ่านต่อไปมากขึ้น
(3) เพิ่มหน้าบทนำ สั้นและง่าย
ถ้านิยายของคุณเป็นประเภทที่ยากที่จะนำสิ่งดึงดูดผู้อ่านมาไว้ตอนต้นเรื่องได้ และพล็อตเรื่องก็ไม่เหมาะที่จะนำมาเผยตอนต้นเรื่อง ถ้าอย่างนั้นคุณควรเขียนบทนำที่อ่านง่ายสั้นๆ ไว้ในบทเริ่มต้น ที่สามารถทำให้ผู้อ่านเห็นตัวแปรเติมเต็มให้ชีวิต ที่จะเกิดขึ้นในเรื่องต่อไปได้
มีนวนิยายสองแบบที่เหมาะกับการเริ่มเรื่องแบบนี้
แบบแรก คือเรื่องเกี่ยวข้องกับสิ่งของ วัตถุหรือเทคนิคบางอย่างที่เกี่ยวข้องในเนื้อเรื่องไปตั้งแต่ต้นจนจบ
ต่อไปนี้เป็นตัวอย่างการเขียนบทนำของนิยายแบบที่กล่าวมาข้างต้น: เขียนอธิบายว่าคนโบราณจากเมื่อหลายพันปีก่อน ได้รับวัตถุอันทรงพลังบางอย่างที่ช่วยให้เขาประสบความสำเร็จสิ่งต่างๆ อย่างเหลือเชื่อ หลังจากนั้นเรื่องก็กระโดดไปที่ตอนต้นของเนื้อเรื่องหลักของคุณที่เวลาปัจจุบัน ที่ตัวละครหลักของคุณเป็นแค่คนธรรมดาผู้ซึ่งได้เจอวัตถุลึกลับอันทรงพลังนี้โดยบังเอิญ...
ณ ขณะนี้ บางที ตัวละครหลักยังไม่รู้ด้วยซ้ำว่าวัตถุชิ้นนี้ที่จริงมีพลังมหาศาลซ่อนอยู่ อย่างไรก็ตาม คุณสามารถบรรยายให้รู้ได้ว่า วัตถุลึกลับนี้เป็นวัตถุชิ้นเดียวกับที่เอ่ยถึงในบทนำ ซึ่งจะทำให้ผู้อ่านเข้าใจว่าตัวละครหลักได้เจอทรัพย์สมบัติมหัศจรรย์เข้าแล้ว
วิธีนี้ ผู้อ่านจะได้รับแรงจูงใจให้อยากอ่านมากขึ้น แม้ว่าตัวละครหลักยังไม่รู้ว่าจะใช้วัตถุนั้นอย่างไร แต่ผู้อ่านยังคงสนใจอยากจะรู้ไปอีกชั่วเวลาหนึ่ง
อีกกรณีที่คล้ายคลึงกันกับเรื่องตำราฝึกวิชาศิลปะการต่อสู้ เมื่อตัวละครหลักได้รับตำราฝึกวิชา คุณไม่จำเป็นต้องเขียนให้เขาเรียนรู้มันทันที บางทีเขาคิดว่ามันเป็นเรื่องตลกหรือเป็นตำราที่ใช้ไม่ได้จริง หรือบางทีเขาทำแม้กระทั่งวางไว้ที่บ้านอย่างไม่ใส่ใจไยดี นี่จะทำให้ผู้อ่านสงสัยว่า เขาจะค้นพบเคล็ดลับอันทรงพลังของตำราฝึกวิชาเล่มนั้นเมื่อไหร่
นวนิยายอีกแบบที่เหมาะกับการใช้วิธีเขียนบทนำก่อนเริ่มเรื่องคือ เรื่องประเภทที่มีความลึกลับที่ไม่เหมาะจะเผยอะไรในตอนต้นเรื่องได้ นวนิยายแบบนี้โดยปกติจะเริ่มต้นด้วยการดำเนินเรื่องแบบชีวิตจริงทั่วไป ซึ่งเป็นแบบที่จะไล่ผู้อ่านที่คาดหวังความลึกลับให้เลิกอ่านก่อนที่จะอ่านถึงเนื้อเรื่องส่วนลึกลับที่น่าสนใจ
ดังนั้น คุณแก้ปัญหาได้ด้วยการบรรยายลงในบทนำ เช่น บุคคลที่มีอำนาจลึกลับสองคนได้มีการต่อสู้กัน หรือบางทีอาจจะแค่จอมขมังเวทย์คนเดียวแสดงพลังออกมา วิธีนี้จะทำให้ผู้อ่านเข้าใจว่าแนวเรื่องนิยายของคุณควรจะเป็นประมาณไหน และจะดึงดูดนักอ่านนิยายประเภทนี้ให้เข้ามาลองอ่านจนได้
สิ่งที่นักเขียนมือใหม่ต้องจดจำไว้คือ บทนำประเภทนี้ข้อความควรจะกระชับและอ่านง่าย คุณควรใช้คำให้น้อยที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้
ยกตัวอย่างเช่น เมื่อเขียนถึงการต่อสู้ที่ดุเดือดในบทนำ ใช้คำแค่ประโยคสองประโยคก็พอแล้ว อย่าพยายามเขียนฉากการต่อสู้ที่ยิ่งใหญ่ลงในบทนำเพื่อดึงดูดผู้อ่านเด็ดขาด
หากมันอยู่ในช่วงกลางเรื่องและผู้อ่านก็รู้แล้วว่าใครเป็นใครในกลุ่มตัวละครนั้น เมื่อหนึ่งในตัวละครที่นิยมมากที่สุดเข้าร่วมในการต่อสู้ครั้งใหญ่ คงเป็นที่น่าสนใจแน่ๆ แต่อย่างไรก็ตาม ในตอนเริ่มเรื่องที่ผู้อ่านยังไม่รู้อะไรเกี่ยวกับตัวละครหลักของคุณเลย นั่นหมายความว่ายังไม่มีผู้อ่านคนไหนจะสามารถสร้างอารมณ์ร่วมไปกับตัวละครของคุณได้ เพราะทุกตัวละครยังเป็นแค่คนแปลกหน้าต่อผู้อ่านอยู่ อีกทั้งผู้อ่านส่วนมากได้อ่านฉากการต่อสู้ครั้งใหญ่มากมายจากเรื่องอื่นๆ มาแล้ว มันจึงไม่มีความรู้สึกพิเศษต่อผู้อ่านเลยแม้แต่นิดเดียว
นั่นคือเหตุผลว่าทำไมคุณไม่ควรมีบทนำที่ยาวสำหรับนิยายแบบที่กล่าวมาก่อนหน้า คุณเพียงแค่ต้องเผยข้อมูลที่น่าสนใจเกี่ยวกับนิยายของคุณเล็กน้อย ว่ามันจะเป็นแบบไหน นั่นคือทั้งหมดที่คุณต้องทำ
ในกรณีปกติจะไม่แนะนำให้ผู้แต่งเขียนบทนำยาว และไม่ควรแยกหน้าออกมาเป็น “บทนำ” โดยเฉพาะ มันจะดีกว่าถ้ารวมเนื้อเรื่องของบทนำลงในบทที่หนึ่งของเรื่อง และใช้พื้นที่เพียงครึ่งหนึ่งหรือน้อยกว่าของบทที่หนึ่งในนิยายของคุณ
...................................................................................