ตอนที่แล้วบทที่ 5 การออกแบบสภาพเหตุการณ์และเขียนโครงเรื่อง
ทั้งหมดรายชื่อตอน
ตอนถัดไปบทที่ 7 วิธีการเขียนบทเริ่มเรื่องของนิยายออนไลน์

บทที่ 6 ประเด็นเพิ่มเติมของการเขียนโครงเรื่องโดยรวม


บทที่ 6 ประเด็นเพิ่มเติมของการเขียนโครงเรื่องโดยรวม

ก่อนหน้านี้ เราได้พูดคุยกันถึงเรื่องการเขียนโครงเรื่องโดยรวมของนิยายในบทความที่แล้ว “การออกแบบสภาพเหตุการณ์และเขียนโครงเรื่อง” คุณสามารถอ้างอิงถึงบทความนั้นไปด้วยกัน อย่างไรก็ตาม เนื่องจากดูเหมือนยังมีนักเขียนอีกมากที่ยังมีคำถาม นักเขียนมืออาชีพจึงได้นำประเด็นที่น่าสนใจเพิ่มเติมมาแชร์ให้พวกเราได้ศึกษากัน

โครงเรื่องโดยรวมมีอยู่สองประเภทหลัก ประเภทหนึ่งไว้สำหรับให้คนอื่นดู อีกประเภทคือชุดที่คุณเขียนไว้ดูเอง

ประเภทแรก คือโครงเรื่องที่ใช้เมื่อบรรณาธิการเช็กเรื่องนิยายของคุณ หรือเมื่อคุณนำไปให้สำนักพิมพ์ที่สนใจ หรือกรรมการตรวจการแข่งขันงานเขียนนิยาย แอนิเมชัน ภาพยนตร์ หรือเกมโปรดิวเซอร์ที่สนใจจะเอาเรื่องของคุณไปใช้ และกรณีอื่นๆ

โดยทั่วไป สิ่งที่พวกเขาต้องการดูคือ “โครงเรื่อง” แต่ที่จริงแล้ว ธรรมชาติของรากฐานที่แท้จริง ไม่ใช่โครงเรื่องที่แท้จริงเลย แต่เป็นโครงเรื่องที่เรียกว่า เรื่องย่อ บทสรุป และชื่ออื่นๆ ที่ให้ความหมายเดียวกัน

การเขียนอะไรแบบนี้ จริงๆ ก็คือวิธีการลดความซับซ้อนของวิธีการเขียนให้เป็นแบบง่าย คุณเขียนโครงเรื่องบนพื้นฐานความต้องการของผู้อื่น โดยรวบรวมสิ่งที่พวกเขาอยากเห็นเขียนใส่ลงไปในเรื่อง จำนวนคำ ประเด็นสำคัญ และอื่นๆ คุณกำลังทำให้ใครก็ตามที่ต้องอ่านโครงเรื่องนี้พอใจ ยกตัวอย่างเช่น หากบรรณาธิการต้องการเห็นโครงเรื่องนิยายของคุณ คุณต้องเขียนให้ชัดเจนและกระชับพอสมควร คุณจำเป็นต้องให้บรรณาธิการของคุณเข้าใจพล็อตโดยรวม ความได้เปรียบอะไรอยู่ในเรื่อง หัวข้อหลักที่พัฒนาการของการดำเนินเรื่อง และอื่นๆ

โครงเรื่องที่แท้จริงคือชุดที่คุณเขียนให้สำหรับตัวเองอ่าน เป้าหมายของมันคือช่วยคุณ - นักเขียน นี่คือหน้าที่ของมันอย่างแท้จริง ที่บ่อยครั้งถูกลืมไปอย่างน่าเสียดาย

ผู้แต่งนิยายหลายต่อหลายคนได้ถามนักเขียนมืออาชีพว่า โครงเรื่องมีความจำเป็นมากที่สุดหรือไม่ หรือพวกเขาสามารถข้ามขั้นตอนนี้ไปได้ นั่นแสดงให้เห็นว่าผู้แต่งเหล่านี้ไม่ตระหนักถึงหน้าที่หลักของโครงเรื่อง มันชัดเจนอยู่แล้วว่าคุณในฐานะนักเขียน มีสิทธิ์เต็มที่ในการตัดสินใจว่าจะเขียนโครงเรื่องหรือไม่ ไม่มีใครมีสิทธิ์บังคับคุณได้ ไม่ใช่เหมือนกับว่ามีครูที่ให้การบ้านกับคุณ ดังนั้น ไม่ว่าคุณจะเขียนโครงเรื่องหรือไม่ และจะเขียนมากน้อยแค่ไหน ขึ้นอยู่กับคุณเต็มที่ คุณนักเรียนผู้เลื่องลือ ขึ้นอยู่กับความต้องการของนักเขียนเท่านั้น

ถ้าอย่างนั้นแล้ว เราต้องเขียนโครงเรื่องโดยรวมของนิยายหรือเปล่า?

อันดับแรกเลยคือช่วยควบคุมจังหวะการดำเนินเรื่อง นี่เป็นเพราะในกระบวนการเขียนที่ยาวนาน เทียบได้กับความยาวของนวนิยายออนไลน์ โดยทั่วไปมันเป็นไปไม่ได้เลยที่จะควบคุมเวลาในการเขียนของนักเขียน เวลาที่ผ่านไปในเรื่อง และเวลาที่ผู้อ่านจะใช้ในการอ่านเรื่องของคุณ มันสัมพันธ์กันหมด ตัวอย่างเช่น เราจะใช้พีชคณิตง่ายๆ เป็นตัวนำเสนอตัวอย่างนี้ สมมติว่านักเขียนใช้เวลาจำนวน x เพื่อเขียนเรื่อง 10x ของเวลาผ่านไปในเรื่อง ขณะที่ผู้อ่านใช้เวลา 0.5x ของเวลาในการอ่านเรื่อง

ดังนั้น หากคุณไม่มีโครงเรื่องโดยรวมช่วยรักษาจังหวะของเรื่องให้คงที่ และคุณเขียนอะไรก็ตามที่คิดขึ้นได้ จังหวะในนิยายของคุณจะกลายเป็นไม่สมดุล เมื่อผู้อ่านอ่านมัน อาจรู้สึกช้าไปหรือเร็วไปก็เป็นได้ แต่ไม่ว่าแบบไหน มันจะทำให้ผู้อ่านไม่ได้รับความเพลิดเพลินในการอ่านนิยายเท่าที่ควร

นอกจากเรื่องการควบคุมจังหวะการดำเนินเรื่องแล้ว โครงเรื่องโดยรวมยังสามารถช่วยนักเขียนกำหนดการจำกัดเงื่อนไขบางอย่างในนิยายของพวกเขา เช่นการควบคุมให้พล็อตพัฒนาไปตามที่ควรจะเป็น

ตัวอย่างเช่น ตามพล็อตเรื่องนิยายของคุณ แม่ใช้ให้ตัวละครหลักออกเดินทางไปซื้อของชำบางอย่าง อย่างไรก็ตาม หากคุณไม่จำกัดขอบเขตให้ตนเองแล้ว และเขียนอะไรก็ตามที่ผุดขึ้นมาในหัว บางทีตัวละครหลักช่วยเด็กคนหนึ่งระหว่างทางไปร้านของชำ หลังจากนั้นเขาได้พบพี่สาวของเด็กคนนั้นผู้ซึ่งกำลังถูกพวกอันธพาลกลุ่มหนึ่งลวนลามอยู่ และแล้วหลังจากตัวละครหลักปราบพวกอันธพาลราบคาบไป บังเอิญมีผู้เฒ่าอมตะเคราขาวเดินผ่านมา แล้วรับตัวละครหลักเป็นลูกศิษย์ แล้ววันหนึ่ง ตัวละครหลักก็ฝึกวิชาสำเร็จ หนึ่งร้อยปีได้ผ่านไปแล้ว...

ดังนั้น เกิดอะไรขึ้นกับร้านขายของชำที่แม่ใช้ให้ตัวละครหลักไปซื้อของ?

นอกจากช่วยป้องกันไม่ให้จินตนาการของเราฟุ้งซ่านเข้ารกเข้าพง โครงเรื่องสามารถเตือนสติเราได้มากมาย

ในด้านหนึ่ง ในระหว่างกระบวนการเขียนนิยายที่ยาวนาน เราสามารถเขียนสิ่งที่น่าสนใจที่ผุดขึ้นมาในหัวเพิ่มเข้าไปในโครงเรื่องของเราได้ ในขณะที่คุณกำลังเขียนพล็อตเรื่อง คุณจะนึกถึงสิ่งที่น่าสนใจเหล่านั้นได้อีกโดยธรรมชาติ แต่ถ้าคุณไม่เขียนสิ่งที่น่าสนใจเหล่านั้นลงไปในโครงเรื่อง เป็นไปได้อย่างมากที่คุณจะลืมมันไปภายในไม่กี่วัน หรือแม้ว่าคุณจำมันได้ เรื่องก็อาจผ่านช่วงที่ควรจะเพิ่มสิ่งน่าสนใจนั้นเข้าไปในเรื่องแล้ว

ไม่เพียงเท่านั้น โครงเรื่องสามารถชี้นำเราได้ว่าพล็อตเรื่องควรจะเดินไปในทิศทางไหน ยกตัวอย่างเรื่องไปร้านขายของชำอีกครั้ง สมมติว่าคุณเป็นแต่งเรื่องนี้ และคุณได้เริ่มเกิดปัญหาความคิดตีบตันขึ้น ขณะที่คุณตั้งหน้าตั้งตาเขียนต่อไป ความคิดคุณเริ่มสับสนและไม่รู้จะเขียนอะไรอีกต่อไป ในกรณีนี้ ถ้าคุณเอาโครงเรื่องมาดู ทันใดนั้นคุณก็ตระหนักได้ทันทีว่า คุณควรเขียนให้ตัวละครหลักไปซื้อของที่ร้านขายของชำได้สำเร็จลุล่วง

วิธีนี้จะช่วยลดโอกาสที่คุณจะเกิดปัญหาความคิดตีบตันขึ้นได้

ที่ยกตัวอย่างมาทั้งหมด เพื่อแสดงให้เห็นว่า โครงเรื่องสามารถช่วยคุณได้ เวลาเขียนนิยายเรื่องหนึ่ง ไม่ว่าจะอย่างไร คุณจำเป็นต้องเข้าใจว่าการเขียนโครงเรื่องนั้น ช่วยให้งานของคุณง่ายขึ้น มันจะทำให้กระบวนการทำงานของคุณราบรื่น และทำให้ผลงานที่ออกมาดียิ่งกว่าเดิม หากโครงเรื่องของคุณ ด้วยเหตุผลบางอย่างส่งผลตรงข้ามกับที่ควรจะเป็น ก็เห็นได้ชัดว่าคุณเขียนโครงเรื่องไม่ถูกต้อง ในกรณีนั้น คุณไม่ต้องเขียนจะดีกว่า

ถ้าอย่างนั้น โครงเรื่องที่ถูกต้องจริงๆ เป็นอย่างไร?

ความจริงก็คือ การเขียนโครงเรื่องสำหรับนิยาย มีการเขียนในหลายรูปแบบ ต่อไปนี้เป็นตัวอย่างบางรูปแบบที่ใช้กันอยู่

“ตัวละครหลักของฉันมีพลังเพิ่มขึ้นหนึ่งครั้งต่อ 10,000 คำ สำหรับ 100,000 คำแรก หลังจากนั้นเธอจะมีพลังเพิ่มขึ้นหนึ่งครั้งต่อ 50,000 คำสำหรับ 900,000 คำต่อไป หลังจากนั้น เธอจะเพิ่มระดับพลังหนึ่งครั้งต่อ 100,000 คำ ไปจนกระทั่งฉันเขียนจนถึงตอนจบ”

โครงเรื่องนี้ประกอบด้วยคำทั้งหมดแค่ห้าสิบกว่าคำเท่านั้น แล้วนับว่าเป็นโครงเรื่องไหม?

ไม่ต้องสงสัยเลย นี่คือโครงเรื่องอย่างหนึ่ง มันสามารถแม้กระทั่งนับเป็นโครงเรื่องโดยรวมของนิยายทั้งเรื่อง นั่นเป็นเพราะโครงเรื่องนี้มีเป้าหมายครอบคลุมความยาวทั้งเรื่อง ไม่ใช่แค่เพียงบางส่วนเท่านั้น

นี่คืออีกหนึ่งตัวอย่าง

“ครั้งต่อไปตัวละครหลักของฉันจะเพิ่มระดับขึ้น เขาจะได้ไปเผชิญกับด่าน หายนะสวรรค์สาปส่ง อาวุธของเขาจะมีพลังเพิ่มขึ้นด้วย”

แล้วนี่ถือเป็นโครงเรื่องด้วยใช่ไหม?

ถูกต้องแล้ว นี่ก็คือโครงเรื่องแบบหนึ่งอย่างแน่นอน แต่นี่เป็นแบบเฉพาะส่วน ไม่เต็มเรื่อง

นักเขียนมืออาชีพหลายคนยังคงยืนยันว่า โครงเรื่องไม่จำเป็นต้องเขียนละเอียดหรือสมบูรณ์พร้อม ขอเพียงให้มันช่วยให้นักเขียนสร้างสรรค์งานเขียนได้อย่างมีคุณภาพมากขึ้น ไม่สำคัญว่าจะสั้นหรือยาว เรายังนับว่ามันคือโครงเรื่องอย่างหนึ่ง

นั่นเป็นเหตุผลว่า ไม่มีสิ่งที่เรียกว่า โครงเรื่องแบบครอบจักรวาล โครงเรื่องแบบไหนที่คุณต้องการ แบบนั้นคือดีที่สุดสำหรับคุณ

หากคุณยังไม่เก่งเรื่องการควบคุมจังหวะการดำเนินเรื่อง นั่นหมายความว่าโครงเรื่องของคุณต้องเพิ่มข้อจำกัดลงไป เพื่อสกัดกั้นไม่ให้พล็อตขยายเกินออกไปจากเรื่องที่วางไว้ คุณจำเป็นต้องเข้มงวดมากขึ้นเป็นพิเศษในการควบคุมจำนวนคำระหว่างทุกครั้งที่ตัวละครเพิ่มระดับขึ้น หรือเรื่องมาถึงช่วงไคลแม็กซ์ของพล็อตหลัก หากคุณเป็นนักเขียนประเภทที่ชอบเขียนพล็อตรองหลายเส้นพร้อมกัน และลืมเรื่องความสำคัญของตัวละครหลักและไอเทมต่างๆ ถ้าอย่างนั้นก็เขียนพล็อตทุกเส้นลงในโครงเรื่องไปด้วย และใช้มันทุกครั้งเมื่อคุณนึกขึ้นได้ แต่ถ้าคุณเป็นนักเขียนนิยายแบบที่มีพรสวรรค์ในงานนี้ และไม่มีปัญหากับการควบคุมจังหวะการดำเนินเรื่องของคุณแม้แต่นิดเดียว ถ้าอย่างนั้น ขอแสดงความยินดีด้วย คุณไม่จำเป็นต้องเขียนโครงเรื่องแต่อย่างใด... แต่ละคนมีความแตกต่างกัน

แน่นอนว่า สำหรับนักเขียนฝีมือธรรมดา นักเขียนมืออาชีพยังแนะนำให้คุณเขียนโครงเรื่อง อย่างน้อยที่สุด คุณควรพยายามเขียนโครงเรื่องและดูว่ามันช่วยงานคุณหรือไม่ ถ้าคุณแน่ใจว่ามันทำให้งานของคุณแย่ลง ก็ควรงดการใช้เป็นการชั่วคราว

โครงเรื่องนิยายแบบดั้งเดิมส่วนมากที่ใช้กันทั่วไป คือแบบที่เขียนเกี่ยวกับการเพิ่มพลังของตัวละครหลัก พร้อมกับเขียนเหตุการณ์ใหญ่ คร่าวๆ ในเรื่อง หรือคุณควรจะเริ่มเติมรายละเอียดให้เป็นพิมพ์เขียวของเรื่องไปด้วยก็ได้

ตัวอย่างเช่น จากตัวอย่างก่อนหน้า ที่ตัวละครหลักพลังเพิ่มขึ้นหนึ่งครั้งทุก xxx คำ ตอนนี้เราสามารถเริ่มรายละเอียดลงในโครงเรื่องได้แล้ว คุณอาจจะเริ่มจากเพิ่มสถานที่หลากหลายลงไปในเรื่อง และวางแผนเหตุการณ์สำคัญ และคุณสามารถตั้งค่าจำกัดจำนวนคำของเหตุการณ์สำคัญในเรื่องได้ เช่น จะใช้กี่คำก่อนที่เรื่องจะเปลี่ยนไปเป็นสถานที่ใหม่ เผชิญอันตรายครั้งใหม่ เริ่มพล็อตรองใหม่ และอื่นๆ อีก หลังจากนั้นเราสามารถใช้ประเภทแนวเรื่องนิยายของคุณ มาเป็นเงื่อนไขในการใส่เหตุการณ์เฉพาะ เราสามารถคิดว่า ไม่ว่าตัวละครหลักควรจะเริ่มเรียนวิชาจากอาจารย์ หรือบางทีอาจถูกเนรเทศจากครอบครัวของเธอ เธอควรจะได้รับความได้เปรียบตั้งแต่เริ่มเรื่องหรือไม่? หรือบางที เรื่องอาจจะเริ่มด้วยคู่หมั้นของเธอ ทำลายการหมั้นระหว่างเขากับเธอ ระดับของเธอควรจะค่อยๆ เพิ่มขึ้นจนกลายเป็นทรงพลัง หรือเธอจะทำบางสิ่งที่สำคัญตั้งแต่เริ่มต้นเลย?

เหตุการณ์เหล่านี้ที่อาจเกิดขึ้น อาจนำไปสู่ความขัดแย้งกับการเพิ่มระดับในโครงเรื่องที่กล่าวมาก่อนหน้า ถ้าเป็นอย่างนั้น เราควรจะนำทุกอย่างมารวมกันและปรับให้เข้ากันอย่างเหมาะสม เราได้บอกไปในตอนแรกว่า เราต้องการให้ตัวละครหลักระดับเพิ่มขึ้นหนึ่งครั้งต่อ 10,000 คำในช่วงเริ่มต้น แต่บางทีตัวละครหลักในเรื่องกำลังฝึกฝนวิชาอยู่ในขณะนั้น และคุณวางแผนที่จะเพิ่มระดับให้เธออีกสามสี่ครั้งเมื่อเธอฝึกวิชาสำเร็จแล้ว ซึ่งจะใช้ 20,000 ถึง 30,000 คำ

ในกรณีนั้น มันมีความขัดแย้งระหว่างพล็อตและโครงเรื่องของคุณ แต่นั่นยังไม่เป็นไร เราสามารถปรับการเพิ่มระดับเพียงเล็กน้อยในเรื่องให้เธอเพิ่มระดับอีกสามสี่ครั้ง ในทุก 30,000 คำแทน

อย่างไรก็ตาม หากช่วงฝึกวิชาของการดำเนินเรื่องจะใช้ 200,000 ถึง 300,000 คำแทน เห็นได้ชัดว่านี่กำลังจะเป็นปัญหา คุณควรตัดพล็อตให้สั้นลง เปลี่ยนเรื่องราวอย่างใดอย่างหนึ่ง หรือเปลี่ยนแผนดั้งเดิม ที่จะให้ตัวละครหลักเพิ่มพลังหลายระดับภายในคราวเดียวกัน ในตอนจบช่วงการฝึกวิชา และให้เธอได้เพิ่มระดับสามสี่ครั้งในช่วงกลางของเหตุการณ์

นี่คือวิธีที่เราปรับแก้ความขัดแย้งใดๆ ระหว่างการดำเนินเรื่องและโครงเรื่อง ในที่สุด เมื่อคุณรวมมันเข้าด้วยกันแล้ว คุณจะได้โครงเรื่องที่ดีพอสมควรทีเดียว

ตอนนี้ หลังจากที่คุณมีโครงเรื่องที่ดีแล้ว คุณจำเป็นต้องทำทุกอย่างตามที่บันทึกไว้หรือไม่ จะเกิดอะไรขึ้นถ้าคุณออกนอกเรื่อง?

คำถามเหล่านี้คือสองคำถามที่แตกต่างกัน สำหรับคำถามแรก คำตอบคือ “ใช่” เนื่องจากคุณผ่านความลำบากในการเขียนโครงเรื่องนี้มาจนเสร็จ แน่นอนว่าคุณควรทำตามมันไป คุณไม่จำเป็นต้องทำตามอย่างเคร่งครัดแบบอักษรต่ออักษร แต่เรื่องราวควรจะอยู่ในกรอบของโครงเรื่อง ไม่อย่างนั้นมันก็ไม่จำเป็นต้องมีโครงเรื่องตั้งแต่แรกแล้ว

สิ่งที่น่าสนใจคือ งานเขียนนิยายไม่ใช่อะไรที่เหมือนเครื่องจักรที่มีแค่คำตอบเดียวที่ถูกต้อง งานเขียนคือกระบวนการสร้างสรรค์งานที่เติมเต็มด้วยจินตนาการของเรา มันเป็นเรื่องปกติที่จะมีการเขียนเพิ่มเติมลงไปเป็นพิเศษเล็กน้อย หรือคิดบางสิ่งใหม่ในช่วงกลางของการดำเนินเรื่อง หากคุณทำตามโครงเรื่องด้วยความเคร่งครัดเกินไป ไม่เพียงแต่คุณจะรู้สึกลำบากใจ มันจะกลายเป็นเครื่องมือควบคุมไม่ให้คุณใช้ความสร้างสรรค์ในการทำงานได้

ดังนั้น มีความจำเป็นต้องทำตามโครงเรื่อง แต่คุณไม่จำเป็นต้องตามมันทั้งหมด ถ้าจะออกนอกกรอบเล็กน้อยพร้อมข้อจำกัด ก็ไม่มีปัญหาใดๆ

แต่จะเกิดอะไรขึ้นถ้าคุณออกนอกเรื่องไปเลย? ถ้าหากแต่เดิมคุณตั้งใจที่จะให้เรื่องช่วงหนึ่งใช้แค่ 30,000 คำ แต่มันจบลงด้วยใช้ไป 130,000 คำแทน หรือแม้กระทั่ง 300,000 คำ? หรือถ้าหากเดิมทีคุณตั้งใจจะเขียนพล็อตเน้นการดำเนินเรื่องไปที่ตัวละครสำคัญบางกลุ่ม แต่กลับกลายเป็นฆ่าตัวละครกลุ่มนี้ทิ้งแทน

คำตอบก็คือ คุณต้องเปลี่ยนมัน แต่ไม่ว่าคุณควรจะเปลี่ยนเนื้อเรื่องหรือโครงเรื่อง มันขึ้นอยู่กับสถานการณ์

ในกระบวนการเขียนหนังสือนิยายนั้น ไม่มีคำตอบที่ถูกที่สุด ไม่มีสิ่งที่เรียกว่าสไตล์ที่เยี่ยมสมบูรณ์แบบ นั่นคือสิ่งที่บอกว่า แม้แต่โครงเรื่องที่คุณเขียนไว้ตั้งแต่แรก อาจจะไม่ใช่ตัวเลือกที่เหมาะอยู่ก่อนแล้ว ดังนั้นการเขียนออกนอกโครงเรื่องบางทีก็ไม่แย่เสมอไป

หากคุณสังเกตเห็นว่าคุณได้เขียนเนื้อเรื่องออกนอกโครงเรื่องไป คุณควรหยุดและวิเคราะห์เนื้อเรื่อง แล้วตัดสินใจว่า เรื่องที่ออกไปนอกโครงนั้นดีขึ้นหรือแย่ลง

ในตัวอย่างที่กล่าวมาก่อนหน้า ที่คุณเขียน 300,000 คำของเรื่องช่วงหนึ่ง ที่คุณตั้งใจจะเขียนแค่ 30,000 คำเท่านั้น ในสถานการณ์นี้ จะทำลายความลื่นไหลของการดำเนินเรื่องที่มีผลต่อผู้อ่านนิยาย และบ่อยครั้งผลเสียของมันไปกระทบผู้อ่านมากกว่า หากคุณตัดสินใจว่ามันแย่สำหรับเนื้อเรื่อง คุณต้องเริ่มแก้ไขการดำเนินเรื่องใหม่ ไม่ว่าคุณจำเป็นต้องลบคำจาก 300,000 ให้เหลือ 30,000 คำ หรือคุณจำเป็นต้องเปลี่ยนแปลงเนื้อเรื่องครั้งใหญ่ และเพิ่มการเพิ่มระดับพลังและไคลแม็กซ์เข้าไปที่กลางเหตุการณ์ของช่วงที่เป็นปัญหา เพื่อที่จะทำให้ผู้อ่านไม่รู้สึกว่าการดำเนินเรื่องช้าเกินไป

สำหรับตัวอย่างที่ว่า คุณพลาดไปฆ่าตัวละครทิ้งและตอนนี้รู้สึกเสียดาย เพราะคุณต้องการเอากลับมาใช้อีกในภายหลัง นี่เป็นสถานการณ์ที่วิเคราะห์ยากทีเดียว เราต้องชั่งน้ำหนักข้อดีข้อเสียและมองให้เห็นว่าอย่างไหนดีกว่า เมื่อถึงเวลาสรุปปัญหาก่อนการแก้ไขสิ่งนี้ ยกตัวอย่าง ถ้าเรื่องของคุณเป็นประเภทนิยายระทึกขวัญ มันอาจจะเป็นเรื่องดีด้วยซ้ำที่ตัวละครที่ผู้อ่านนิยายเชื่อว่าจะรอดชีวิตไปถึงตอนท้าย เพราะเหตุการณ์จะช่วยเพิ่มอารมณ์ระทึกขวัญและความตึงเครียดโดยรวมให้กับนิยายของคุณ ในกรณีนี้ คุณสามารถเก็บเหตุการณ์ส่วนนี้ไว้ได้ และเปลี่ยนพล็อตที่จะใช้ตอนแรกเอามาใช้ทำให้สถานการณ์วนเวียนรอบตัวละครอื่นแทน หรือคุณจะต้องเขียนฉากแทรกเพิ่มขึ้นมาว่า ตัวละครที่ตายไปจู่ๆ ก็กลับมามีชีวิตอีกครั้ง หรือพวกเขาสร้างเหตุการณ์แกล้งตายเพื่อหลอกทุกคน

อย่างไรก็ตาม หากมีนักเขียนนิยายบางคน ไม่มีความสามารถเพียงพอที่จะวิเคราะห์ว่าสิ่งไหนดีหรือไม่ดี ถ้าพวกเขาเผลอเขียนออกนอกโครงเรื่องไป?

มันง่ายมาก ถ้าคุณไม่สามารถแม้กระทั่งตัดสินใจได้ละก็ ให้ถือว่ามันเป็นสิ่งที่แย่ต่อเนื้อเรื่องไว้ก่อน ถ้าคุณไม่มีความสามารถด้านนี้เพียงพอ วิธีเขียนหนังสือที่เยี่ยมที่สุดของคุณคือเขียนตามโครงเรื่องอย่างเคร่งครัด และเปลี่ยนอะไรก็ตามที่เห็นว่าออกนอกเรื่องทันที

ข้อสรุปอย่างง่ายกับสิ่งที่ได้เรียนรู้จากบทความนี้

1. โครงเรื่องไม่ใช่สิ่งจำเป็นที่สุด แต่แนะนำให้นักเขียนควรพยายามเขียนไว้ทุกเรื่อง

2. การเขียนโครงเรื่องคือการทำเพื่ออำนวยความสะดวกให้ตัวนักเขียนเองโดยเฉพาะ ดังนั้นคุณควรเขียนโครงเรื่องในแบบที่คุณต้องการ ไม่มีข้อจำกัดใดๆ ทั้งสิ้น

3. หากคุณไม่รู้วิธีเขียนโครงเรื่องเลย คุณสามารถลองใช้วิธีจำกัดจำนวนคำ เวลาเปลี่ยนฉากในเรื่อง แต่ละจุดพลิกผัน แต่ละไคลแม็กซ์ ตอนระดับพลังเพิ่ม และช่วงอื่นๆ ที่ทำได้ ตั้งค่าจำนวนคำที่ชัดเจนในแต่ละช่วงของนิยายก่อน แล้วค่อยเติมรายละเอียดทีหลังก็ยังได้

4. หากสังเกตเห็นว่าคุณเขียนนิยายออกนอกโครงเรื่องไป และจำเป็นต้องตัดสินว่ามันจะดีหรือแย่ ต้องตัดสินใจว่าคุณควรเปลี่ยนโครงเรื่องหรือเนื้อเรื่อง ถ้าคุณไม่รู้ว่าควรจะเปลี่ยนสิ่งไหน ให้เปลี่ยนเนื้อเรื่องก่อนเสมอ

..................................................................................

0 0 โหวต
Article Rating
0 Comments
Inline Feedbacks
ดูความคิดเห็นทั้งหมด